ข้อ |
คำแนะนำ |
1 |
ผู้ประกอบการตลาด/ผู้จัดการตลาด/ผู้ขายของ/ผู้จำหน่ายอาหารในตลาด |
|
-ตลาดสดทุกแห่งกำหนดให้มีทางเข้าออกของผู้ขายของ ลูกค้า /ผู้มาติดต่อ เพื่อคัดกรองโดยการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายและสังเกตอาการทุกคน ผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า37.5 องศาเซลเซียส หรือมีอาการไข้ ไอจาม หรือเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือมาจากพื้นที่เสี่ยง ต้องใส่หน้ากากอนามัย และมีสถานที่แยกการให้บริการจากลูกค้าปกติ ก่อนแนะนำให้ไปรักษา |
|
-ตลาดสดทุกแห่งจัดให้มีจุดล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่เหลว หรือเจลล้างมือแอลกออล์สำหรับผู้ปฏิบัติงานและผู้มาใช้บริการทุกคน และกำหนดให้ทุกคนต้องล้างมือบ่อยๆโดยเฉพาะหลังจากสัมผัสสิ่งของที่ใช้ร่วมกันหรือธนบัตร หรือเงินเหรียญ |
|
– ผู้ประกอบการตลาด/ผู้จัดการตลาด/ผู้ขายของ/ผู้จำหน่ายอาหารในตลาดและผู้สัมผัสอาหารทุกคนต้องใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยและสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ถูกต้อง |
|
-ตลาดสดทุกแห่งจัดให้มีหน้ากากผ้าสำหรับผู้ขายของ/ผู้จำหน่ายอาหารทุกคนอย่างเพียงพอ |
|
-กำหนดให้ผู้ขายของ/ผู้จำหน่ายอาหารในตลาดและผู้สัมผัสอาหารที่ขายอาหารปรุงสำเร็จแล้วพร้อมรับประทานต้องมีฝาปิดหรือมีตู้ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันละอองน้ำมูก น้ำลาย และฝุ่น ปนเปื้อนในอาหาร |
|
– หากพนักงานหรือผู้ขายของในตลาดมีอาการคล้ายโรคระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก ให้หยุดปฏิบัติงานและไปพบแพทย์ทันที |
|
-พนักงานที่ปฏิบัติงานในจุดเสี่ยง ได้แก่ แม่บ้านทำความสะอาดห้องสุขาพนักงานเก็บขนขยะ ต้องใส่ถุงมือ รองเท้า หน้ากากผ้าตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรค และเมื่อปฏิบัติงานเสร็จต้องล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่หรือเจลล้างมือแอลกอฮอล์ทุกครั้ง |
|
-จัดให้มีการประชาสัมพันธ์การป้องกันCOVID-19 ทางสื่อประชาสัมพันธ์ในทุกช่องทาง ได้แก่ เสียงตามสาย สื่อโทรทัศน์ แอปพิเคชั่น Line ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ สื่อเอื่นๆ ได้แก่ แผ่นพับ โปสเตอร์ อิโฟกราฟฟิก รถประชาสัมพันธ์ฯลฯ |
2. |
ตัวอาคารตลาด ส่วนให้บริการลูกค้า |
|
-มีป้ายประชาสัมพันธ์แนะนำการปฏิบัติตัว การสังเกตอาการ และการป้องกันโรคและอื่นๆเกี่ยวกับโรคCOVID-19 |
|
-มีระบบระบายอากาศที่ดี มีการไหลของอากาศภายในตลาด |
|
-กำหนดระยะห่างระหว่างแผง หรือผู้ขายของ แต่ละคน และผู้ขายของกับลูกค้า ให้ห่างกันอย่างน้อย 1.5 เมตร |
|
-มีการล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาลสัปดาห์ละ 1 ครั้ง |
|
-มีการทำความสะอาดในบริเวณที่มีการใช้งานบ่อย เช่น แผงจำหน่ายอาหาร โต๊ะวางอาหารจำหน่าย ห้องสุขารวม โดยเฉพาะจุดที่มีการสัมผัสบ่อยๆ เช่น ที่จับเปิดปิดประตู ลูกบิดประตู ราวบันได เคาน์เตอร์ โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดหริอน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ควรทำความสะอาดทุก 2 ชั่วโมง |
|
-ทำความสะอาดแผง/โต๊ะจำหน่ายอาหารด้วยน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อโรคตามหลักสุขาภิบาลทุกวันโดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงชำแหละเนื้อ |
|
-จัดให้มีที่ล้างมือและสบู่ หรือมีเจลล้างมือแอลกอฮอล์ สำหรับบริการลูกค้าบริเวณตลาดอย่างเพียงพอ |
|
– ควรแยกสำรับอาหาร หรือจัดให้มีช้อนกลางหรือช้อนกลางประจำตัวส่วนบุคคลทุกครั้ง เมื่อเสิร์ฟอาหารที่ต้องรับประทานร่วมกัน |
|
– จัดให้มีกระดาษทิชชูสำหรับเช็ดปากหรือมือหรือปิดปากปิดจมูกเมื่อไอ จาม ไว้บริการแก่ลูกค้า ในแผงนั่งรับประทานอาหารในตลาดอย่างเพียงพอ |
|
– ร้านอาหารหรือแผงลอยขายอาหารพร้อมรับประทานหรือที่ปรุงอาหาร ในตลาด มีการล้างภาชนะ อุปกรณ์ให้สะอาดและจัดเก็บภาชนะปรุงอาหารหรือภาชนะ ใส่อาหาร ตามหลักสุขาภิบาลอาหาร |
|
-จัดให้มีหน้ากากผ้าสำหรับบริการลูกค้า ในกรณีร้องขอ |
|
-ห้องสุขาต้องสะอาดและมีสบู่เหลวสำหรับล้างมือ |
|
-การทำความสะอาดห้องสุขารวม ต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดสุขภัณฑ์ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ชำระล้างบริเวณลูกบิดประตู/ที่จับปิดเปิด กลอน ก๊อกน้ำ ที่จับสายฉีดชำระ ที่รองนั่งชักโครก โดยควรทำความสะอาดทุก 2 ชั่วโมง |
|
-หมั่นเช็คทำความสะอาดพื้นผิวและจุดที่สัมผัสร่วมกันบ่อยๆ |
|
-มีการจัดเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดได้แก่ ผ้าเช็ดความสะอาด อุปกรณ์ทำความสะอาดพื้นตลาด ห้องครัว ห้องสุขาสะอาดเป็นระเบียบ มีบริเวณซักล้างและมีระบบระบายน้ำทิ้งที่ถูกสุขลักษณะ มีการระบายอากาศ และมีแสงสว่างเพียงพอ |
|
-มีการคัดแยกขยะเปียกที่เป็นเศษอาหารจากขยะทั่วไป และมีการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่พักขยะ และมีการเก็บรวบรวมขยะไปกำจัดและล้างบริเวณที่รวบรวมขยะโดยใช้น้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อทุกวัน |
3. |
ลูกค้า/ผู้มาติดต่อ |
|
-ลูกค้า/ผู้มาติดต่อ ทุกคนต้องใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย และต้องล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่หรือเจลล้างมือแอลกอฮอล์ ที่บริเวณทางเข้าตลาดทุกครั้งก่อนเข้ามาใช้บริการ |
|
-ลูกค้า/ผู้มาติดต่อ ทุกคนต้องได้รับการตรวจวัดอุณหภูมิ ผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า37.5 องศาเซลเซียส หรือมีอาการไข้ ไอจาม หรือเป็นกลุ่มเสี่ยง หรือมาจากพื้นที่เสี่ยง ต้องใส่หน้ากากอนามัย และมีสถานที่แยกการให้บริการจากลูกค้าปกติ ก่อนแนะนำให้ไปรักษา |
ข้อแนะนำแนบท้าย
1.ทำความสะอาดแผง/โต๊ะจำหน่ายอาหารด้วยน้ำยาทำความสะอาดและน้ำยาฆ่าเชื้อโรคโดยใช้ผงปูนคลอรีน60% ผสมน้ำในอัตรส่วน 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร (1ปิ๊บ) ใส่ฝักบัว เทราดบริเวณโดยรอบแผง
- ไม่ควรนำช้อน ส้อมมาจุ่มในหม้อหุงข้าวเพื่อฆ่าเชื้อโรค เพราะหม้อหุงข้าวไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิหรือความร้อนได้ และหากเป็นหม้อหุงข้าวที่เคลือบเทฟลอน หรือเซรามิก อาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารโลหะหนัก
3.การเลือกภาชนะใส่อาหาร ควรเลือกวัสดุที่ไม่เป็นพิษและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำความสะอาดง่าย ทนต่อความร้อนและการกัดกร่อนของกรด
4.การล้างภาชนะให้ขจัดเศษอาหารและล้างด้วยน้ำสะอาดผสมน้ำยาล้างจาน จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 ครั้ง จากนั้นนำไปผึ่งแดดหรืออบด้วยความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรค ห้ามใช้ผ้าเช็ด
- 5. น้ำยาที่ใช้ในการทำความสะอาดบริเวณที่มีการใช้งานบ่อย อาทิเช่น แอลกอฮอล์70% หรือใช้
เดทตอล 5 ฝาผสมน้ำ 2 ลิตร เช็ดหรือฉีดพ่นหรือใช้น้ำยาฟอกขาว โดยสำหรับพื้นผิวทั่วไปใช้น้ำยาฟอกขาว
(ไฮเตอร์)เจือจาง 1 ส่วนในน้ำ 99 ส่วน (ความเข้มข้น 0.05% หรือเท่ากับ 500 ppm) ส่วนพื้นผิวที่มีน้ำมูกน้ำลายเสมหะสารคัดหลั่งของผู้ป่วยเช่นห้องสุขาโถส้วมใช้น้ำยาฟอกขาว(ไฮเตอร์)เจือจาง 1 ส่วนในน้ำ 9 ส่วน
(ความเข้มข้น 0.5%) ราดทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที
6.ทำความสะอาดห้องน้ำ รวมถึงสุขภัณฑ์ และพื้นผิวในห้องน้ำโดยการราดน้ำยาฟอกขาว(ไฮเตอร์) ทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที แล้วล้างทำความสะอาดพื้นอีกครั้งด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างห้องน้ำตามปกติ
7.เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายอาจเป็นแบบดิจิตอลสำหรับวัดที่ศีรษะหรือเป็นแบบปรอทวัดที่รักแร้ก็ได้ โดยต้องใช้แอลกอฮอล์ 70% ชุบสำลี เช็ดทุกครั้งก่อนใช้กับผู้รับบริการหรือลูกค้าคนต่อไป